Daily Archives: Jan 6, 2017

อุตสาหกรรมน้ำตาลไทย

%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%a5-3

ประเทศไทยจัดได้ว่าเป็นแหล่งผลิตและแหล่งส่งออกน้ำตาลทรายที่สำคัญของอาเซียน ประมาณว่า ร้อยละ 58.71 ของผลผลิตน้ำตาลทรายในอาเซียนเป็นการผลิตจากประไทย อีกทั้งไทยยังเป็นประเทศผู้ส่งออกที่สำคัญของอาเซียนอีกด้วย โดยจากปริมาณการส่งออกน้ำตาลทรายของอาเซียนทั้งหมด 10.23 ล้านตันนั้น เป็นการส่งออกน้ำตาลทรายของไทยถึงร้อยละ 85.92 ตลาดผู้นำเข้าน้ำตาลที่สำคัญในอาเซียนก็มีอยู่หลายประเทศด้วยกันคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ทั้งนี้เพราะอินโดนีเซียมีประชากรมากและการผลิตไม่เพียงพอกับการใช้ประโยชน์ภายในประเทศ ส่วนมาเลเซียและสิงคโปร์เป็นผู้นำเข้า เพราะขาดแหล่งเพาะปลูกอ้อยในประเทศนั้นเอง

ปัจจุบันประไทยมีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยประมาณ 9.3 ล้านไร่ มีผลผลิตอ้อย 103 ล้านตัน โดยผลิตเป็นน้ำตาลทรายชนิดต่างๆ ได้โดยรวม 11.29 ล้านตัน ผลผลิตดังกล่าวถูกใช้ภายในประเทศร้อยละ 22.14 และเป็นการส่งออกร้อยละ 77.86 ของผลผลิตน้ำตาลที่ผลิตได้

ลักษณะและวิธีการขายน้ำตาลทรายของประเทศไทย ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ จากในระยะแรกที่มีบริษัท และอุตสาหกรรมน้ำตาลแห่งประเทศไทย จำกัด เป็นผู้ดำเนินการขายเพียงรายเดียวนั้น การทำสัญญาขายน้ำตาลได้กำหนดราคาขายโดยใช้ราคาส่งมอบทันที เฉลี่ยในช่วงก่อนที่มีการส่งมอบประมาณ 30 ถึง 45 วัน ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ส่วนเงื่อนไขอื่น ๆ อยู่ในลักษณะที่ผู้ซื้อได้เปรียบผู้ขาย

ส่วนน้ำตาลที่มีการส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศนั้น จะเป็นน้ำตาลทรายตามโควต้า ข ที่เป็นน้ำตาลทราบดิบทั้งหมด  ซึ่งจะดำเนินการส่งออกโดยบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด นอกจากนี้ยังมีน้ำตาลโควต้า ค ที่จะดำเนินการส่งออกผ่านทาง 7 บริษัทส่งออก ได้แก่ บริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลแห่งประเทศไทย จำกัด, บริษัท ค้าผลผลิตน้ำตาล จำกัด, บริษัท ส่งออกน้ำตาลสยาม จำกัด, บริษัท การค้า อุตสาหกรรมน้ำตาล จำกัด, บริษัท น้ำตาลแปซิฟิก จำกัด, บริษัท ส่งออก เค.เอส.แอล. จำกัด และ บริษัท ที.ไอ.เอส.เอส. จำกัด และ บริษัท แอกริโก เอเซีย จำกัด (Agrigo Asia) เป็นอีกบริษัทส่งออกที่มีคุณภาพ