Daily Archives: Sep 14, 2018

โรคกระเพาะอาหารชนิดทีมีแผล

อาจจะพบได้น้อยเมื่อเทียบกับโรคกระเพาะอาหารชนิดที่ไม่มีแผล ถึงแม้จะพบได้น้อย แต่มีความสำคัญเนื่องจากอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ เนื่องจากเป็นโรคที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น เลือดออกในกระเพาะอาหาร และแผลในกระเพาะอาหารทะลุ เป็นต้น หากรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้

ส่วนใหญ่มีอาการปวดท้องบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ มีประวัติเป็นเรื้อรังมานาน แต่สุขภาพทั่วไปไม่ทรุดโทรม บางรายมีอาการจุก เสียด แน่น เจ็บ แสบ หรือ ร้อน อาการมักจะสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารหรือชนิดของอาหาร เช่น อาจปวดมากเมื่อหิว หลังรับประทานอาหารจะทุเลา แต่บางรายอาการปวดเป็นมากขึ้นหลังอาหาร โดยเฉพาะเมื่อรับประทานอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เป็นต้น

อ่านต่อ http://www.frenchquarterfinder.com/?p=526

สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะอาหาร

มีสาเหตุหลักมาจากเชื้อแบคทีเรียเฮโลโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicombacter Pylori) หรือ เอช.ไพโลไร หากโรคกระเพาะอาหารที่เป็นอยุ่เกิดจากเชื้อ “H. Pylori” อาจทำให้บุคคลในครอบครัว หรือเพื่อนที่ร่วมโต๊ะอาหารเดียวกัน เกิดโรคกระเพาะอาหารได้ ดั้งนั้นผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และรับการตรวจหาเชื้อ“H. Pylori” ในกระเพาะอาหาร เพื่อการวินิจฉัยที่ตรงจุดและการรักษาที่ทันท่วงที ก่อนจะลุกลามเป็นโรคร้ายในอนาคต

วิธีตรวจหาเชื้อ เอช.ไพโลไร

เพื่อวินิจฉัยอาการในเบื้องต้น สามารถทำได้โดย การตรวจลมหายใจ เพื่อดูการติดเชื้อ เอชไพโลไร , วิธีการเจาะเลือดตรวจหาภูมิต้านทานต่อเชื้อ วิธีทางพยาธิวิทยา หรือดูการเปลี่ยนสีของชุดตรวจพิเศษ เพื่อหาเชื้อ และการตรวจที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น นั่นคือวิธีการส่องกล้อง

การส่องกล้องทางเดินอาหาร (Gastroscope , EGD)

เป็นวิธีมาตรฐานที่ดีที่สุดและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถเห็นรายละเอียดของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้ชัดเจนดีกว่าการกลืนแป้ง การส่องกล้องฯ ช่วยยืนยันการวินิจฉัย และสามารถยืนยันตำแหน่งและขนาดของแผลที่ตรวจพบได้ นอกจากนี้การส่องกล้องฯ สามารถตรวจหาเชื้อ H.pylori โดยการคีบชิ้นเนื้อเล็กๆมาตรวจหาเชื้อหรือส่งตรวจพยาธิสภาพกรณีสงสัยมะเร็งกระเพาะอาหารได้ด้วย อ่านต่อ http://www.iridiuminfocorridor.com/?p=473